การมีตัวอ่อนที่สมบูรณ์ และมีคุณภาพเป็นส่วนสำคัญ ต่ออัตราความสำเร็จ ของการรักษาภาวะมีบุตรยาก เนื่องจากระบบการเพาะเลี้ยง โดยใช้ตู้เลี้ยงตัวอ่อน แบบเดิมต้องมีการเปิด และปิดตู้บ่อย ๆ ที่ให้สภาวะแวดล้อม, อุณหภูมิ, ความชื้น, อากาศ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ การนำตัวอ่อนออกมาประเมิน โดยดูผ่านกล้องจุลทรรศน์บ่อย ๆ นั้นก็ถือว่าเป็นการรบกวน การพัฒนาของตัวอ่อน ทำให้อัตราการเจริญเติบโต ไม่ดีเท่าที่ควร
ในปัจจุบัน จึงมีการพัฒนา ระบบการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนที่ดี และมีคุณภาพมากขึ้น โดยลดการรบกวนตัวอ่อนให้น้อยที่สุด ทำให้ได้ตัวอ่อนที่แข็งแรง และมีโอกาสตั้งครรภ์สูงสุด ผ่านตู้เพาะเลี้ยงพิเศษที่เรียกว่า EmbryoScope Plus
เป็นระบบตู้เลี้ยงเซลล์ตัวอ่อน ที่จะรบกวนตัวอ่อนน้อยที่สุด โดยเมื่อนำตัวอ่อนเข้าไปเลี้ยงแล้ว จะไม่มีการนำตัวอ่อนออกจากระบบ จนตัวอ่อนจะโตเต็มที่ มีระบบช่องขนาดเล็กลำเลี้ยงสารอาหารส่งถึงกัน และกันระหว่างกลุ่มตัวอ่อน ที่เพาะเลี้ยงได้ด้วย ซึ่งจะช่วยส่งเสริม และสนับสนุนให้ตัวอ่อนเติบโต และพัฒนาตัวได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังนำกล้องจุลทรรศน์ มาติดตาม และถ่ายทอดสัญญาณภาพ ตัวอ่อนติดตั้งอยู่ภายใน ส่งสัญญาณภาพถ่ายต่อเนื่องตลอดเวลา คล้าย ๆ ระบบกล้องวงจรปิด ส่งออกมาเป็นภาพวิดีโอ แสดงพัฒนาการของตัวอ่อนที่อยู่ภาย ทำให้แพทย์ ผู้รักษาสามารถประเมินพัฒนาการของตัวอ่อนได้ โดยไม่มีผลกระทบ กับพัฒนาการของเซลล์ตัวอ่อนเลย