การย้ายตัวอ่อน ระยะบลาสโตซิสต์ 1 ตัว เพิ่มโอกาสสำเร็จได้มากขึ้น 70%

ข้อดีเมื่อตัวอ่อนโตถึงระยะนี้ จะสามารถดึงเซลล์เพื่อไปตรวจหาความผิดปกติของคู่โครโมโซมได้ ยิ่งเพิ่มโอกาสความสำเร็จได้มากขึ้น

แม่ๆหลายคนต้องเจอกับความผิดหวังจากการทำเด็กหลอดแก้ว (ICSI) ใส่ตัวอ่อนแล้วไม่ติดสมหวังดังใจ บางคนย้ายมาแล้วหลายครั้งก็ยังไม่ติด

ซึ่งปัจจัยในเรื่องเซลล์ไข่ที่ไม่สมบูรณ์และผนังมดลูกไม่พร้อมเป็นสาหตุหลัก ยังรวมไปถึงความไม่สมดุลของฮอร์โมน และปัญหาภายในอวัยวะสืบพันธุ์ของแม่ๆ ก็เป็นสาเหตุที่อาจส่งผลต่อการขัดขวางการฝังตัวของตัวอ่อนได้

ในการทำเด็กหลอดแก้ว (ICSI) นั้นหลังจากที่ทำการดูดไข่ออกมาจากตัวคุณแม่แล้วก็จะนำไข่มาปฏิสนธิภายนอก หลังจากนั้นก็จะมีการเลี้ยงตัวอ่อนในห้องปฏิบัติการเพื่อให้ตัวอ่อนแบ่งเซลล์จนถึงขนาดที่เหมาะสมที่จะสามารถย้ายตัวอ่อนกลับเข้าสู่โพรงมดลูกได้

มีคำถามว่าตัวอ่อนระยะที่แตกต่างกันส่งผลต่อโอกาสในการตั้งครรภ์ที่แตกต่างกันหรือไม่
และตัวอ่อน Day5 หรือบลาสโตซิสต์ส่งผลให้โอกาสตั้งครรภ์สูงขึ้นจริงหรือ

การพัฒนาการของตัวอ่อนมนุษย์ จะเริ่มจากเซลล์หนึ่งเซลล์ เป็นสอง เป็นสี่ เป็นแปด เป็นสิบหก โดยเรียกชื่อระยะต่างๆตามจำนวนวันที่เพาะเลี้ยงได้แก่

ตัวอ่อนDay 1 (ระยะไซโกต, Zygote)
ตัวอ่อนDay 3 (ระยะคลีเวจ, Cleavage)
ตัวอ่อนDay 5 (ระยะบลาสโตซิสต์, Blastocyst)

#ตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสต์ (Blastocyst) เป็นตัวอ่อนที่เกิดจากการปฏิสนธิของไข่และอสุจิซึ่งเลี้ยงให้เติบโตในห้องปฏิบัติการมาได้อายุ 5-6 วัน จะมีเซลล์จำนวน 80-120 เซลล์ ตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสต์จะมีเซลล์ต้นกำเนิดและเซลล์รกที่พร้อมฝังตัวสู่โพรงมดลูก #จึงเรียกได้ว่าเป็นระยะพร้อมฝังตัว

ตัวอ่อน “ระยะบลาสโตซิสต์” ถือว่าเติบโตได้ดีในระดับหนึ่ง ซึ่งจะมีวิธีการแบ่งเกรดตัวอ่อนออกเป็น A B C อีกเพราะไม่ใช่ว่าตัวอ่อนระยะนี้จะเป็นตัวอ่อนที่ดีหมดทุกตัว ยังต้องมีการคัดเลือกอีกครั้งก่อนย้ายกลับสู่โพรงมดลูก

อย่างไรก็ตามโดยทั่วไปการเลี้ยงตัวอ่อนมาถึงระยะนี้จึงเป็นเหมือน “การคัดกรองตัวอ่อน” ในระดับหนึ่งแล้ว ตัวอ่อนที่เติบโตมาถึงระยะนี้ก็แสดงให้เห็นว่าแข็งแรงในระดับหนึ่ง แพทย์จึงนิยมใส่ตัวอ่อนในระยะ Day 5 เพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ที่สูงขึ้นค่ะ

ข้อดีของตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสต์ได้แก่

(1) เป็นการคัดกรองตัวอ่อนคุณภาพดีที่มีออกมาใส่กลับเข้าสู่โพรงมดลูก

เมื่อตัวอ่อนเติบโตมาถึงระยะบลาสโตซิสต์ซึ่งถือเป็นการคัดกรองระดับหนึ่ง จากตัวอ่อนที่มีเรายังแบ่งเกรดจากลักษณะที่พบผ่านกล้องจุลทรรศน์ และคัดเลือกตัวอ่อนที่คุณภาพดีที่สุดที่มีเพื่อย้ายกลับเข้าสู่โพรงมดลูก ซึ่งหากใส่ถูกตัวก็จะลดระยะเวลาของการรอการตั้งครรภ์ลงได้

(2) มีอัตราฝังตัวและตั้งครรภ์สูง

การย้ายกลับตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสต์ทางโพรงมดลูกนั้นเหมาะสมที่จะฝังตัวมากที่สุด เนื่องจากในภาวะการตั้งครรภ์โดยธรรมชาตินั้น ตัวอ่อนจะเดินทางไปถึงโพรงมดลูกเพื่อที่จะฝังตัวในระยะบลาสโตซิสต์เช่นกัน แต่ถ้าหากเป็นตัวอ่อนระยะDay 3 (Cleavage) จะเป็นช่วงที่ตัวอ่อนอยู่ในท่อนำไข่ จึงอาจจะยังไม่พร้อมในการฝังตัว ต้องใช้เวลาพัฒนาให้เป็นระยะบลาสโตซิสท์ก่อนจึงจะพร้อมสำหรับการฝังตัวที่โพรงมดลูก นอกจากนั้นระยะคลีเวจอาจมีโอกาสหยุดการเจริญเติบโตก่อนการฝังตัวได้ด้วย

(3) ตัวอ่อนที่คุณภาพดีก็จะช่วยลดอัตราการแท้ง

ส่งผลต่อความสำเร็จกับการตั้งครรภ์ที่สมบูรณ์เพิ่มสูงขึ้น

(4) สามารถตรวจโครโมโซมของตัวอ่อนเพื่อเช็คความผิดปกติได้

เราสามารถดึงเซลล์รกของตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสต์เพื่อมาตรวจโครโมโซม 23 คู่ด้วยผลที่แม่นยำถึง 99 % เพื่อตรวจ “ดาวน์ซินโดรม” ในกลุ่มแม่อายุเกิน 35 ปี แม่ที่แท้งบ่อย รวมถึงสามารถตรวจคัดกรองโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น ธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง โดยใช้เทคนิคการตรวจต่างๆ เพิ่มเติม ซึ่งจะช่วยให้มั่นใจมากขึ้นว่าตัวอ่อนมีคุณภาพและไม่มีความผิดปกติแฝงอยู่

ที่สำคัญการตรวจโครโมโซมในระยะนี้ไม่ส่งผลกับการตั้งครรภ์ เนื่องจากการดึงเซลล์จากรกไม่ส่งผลกับตัวอ่อน ต่างจากการตรวจตัวอ่อน Day 3 ที่มีตัวอ่อนเพียง 6-8 เซลล์เมื่อไปดึงเซลล์ออกมาก็อาจส่งผลกับตัวอ่อนและการตั้งครรภ์ได้

(5) ลดการเกิดตั้งครรภ์แฝด

เนื่องจากเป็นการคัดเลือกตัวอ่อนที่ดีที่สุด และเป็นระยะที่พร้อมจะฝังตัว ดังนั้นคุณหมอจึงย้ายตัวอ่อนกลับเพียง 1-2 ตัวเท่านั้น จึงลดความเสี่ยงในการ “ตั้งครรภ์แฝด” ซึ่งถือเป็นภาวะแทรกซ้อนของการทำเด็กหลอดแก้ว เพราะการตั้งครรภ์แฝดมีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยของทั้งแม่และทารกในครรภ์หลายประการเช่น ทารกตายในครรภ์ หรือ คลอดก่อนกำหนด เป็นต้น

(6) ตัวอ่อนที่เหลือสามารถเก็บแช่แข็งไว้ได้

การย้ายกลับตัวอ่อนในจำนวนที่น้อยลง ทำให้มีตัวอ่อนคุณภาพดี เหลือเก็บแช่แข็งไว้สำหรับย้ายกลับในรอบถัดๆ ไปได้ค่ะ

สำหรับข้อเสียของการเลี้ยงตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสต์อาจจะมีได้ หากมีไข่น้อย แล้วได้ตัวอ่อนไม่มาก การเลี้ยงตัวอ่อนนานไปจนถึงวันที่ 5-6 อาจไม่มีตัวอ่อนเหลือให้ย้ายกลับสู่โพรงมดลูก เนื่องจากตัวอ่อนตายหมดหรือคุณภาพไม่ดี

จากเหตุผลที่กล่าวมา สรุปได้ว่า “การได้ตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสต์มีโอกาสในการตั้งครรภ์สูงกว่า”

 

ดังนั้นถึงแม้ว่าคัดโครโมโซมผ่าน ได้ตัวอ่อนเกรด A ไม่ได้หมายความว่าจะติด 100% ถ้าคัดผ่านมีโอกาสติด 70% อีก 30 % ก็เป็นปัจจัยอื่นๆ ตามที่กล่าวมาข้างต้นค่ะ

💟การบำรุงล่วงหน้าอย่างน้อย 3 เดือนก่อนเข้าสู่กระบวนการทางการแพทยจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยเพิ่มโอกาสค่ะ ทั้งการบำรุงเซลล์ไข่และสเปิร์มให้สมบูรณ์เป็นการเพิ่มโอกาสให้ได้ตัวอ่อนที่มีคุณภาพ รักษาโรคต่างๆ ติ่งเนื้อหรือเนื้องอก หรือท่อนำไข่อุดตัน หรือบวมน้ำที่เป็นอุปสรรคก่อนการย้ายตัวอ่อน

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการเตรียมบำรุงผนังมดลูกให้หนาตามเกณฑ์พร้อมก่อนใส่ตัวอ่อน ประกอบกับปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และดูแลตัวเองหลังใส่ตัวอ่อนก็จะเป็นการช่วยเพิ่มโอกาสในการฝังตัวได้ค่ะ

แชร์

บทความอื่นๆ

privacy-notice-website-usage

แบบแจ้งเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Notice)

สำหรับผู้ใช้งานเว็บไซต์ของบริษัท  ไอสยาม โฮลดิ้ง จำกัด จำกัด 

บริษัท  ไอสยาม โฮลดิ้ง จำกัด จำกัด   (ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “สไมล์ไอวีเอฟ” หรือ “เรา”) ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และเพื่อให้ท่านมั่นใจได้ว่าเราจะให้ความคุ้มครองและปฏิบัติต่อข้อมูลส่วนบุคคลของท่านโดยสอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เราจึงได้กำหนดแบบแจ้งเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้ขึ้น เพื่อแจ้งให้ท่านทราบรายละเอียดการดำเนินการกับข้อมูลส่วนบุคคลไม่ว่าจะเป็นการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผย (รวมเรียกว่า “การประมวลผล”) ซึ่งอาจเกิดขึ้นในระหว่างที่ท่านเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา ตลอดจนแจ้งให้ท่านทราบถึงสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน และช่องทางการติดต่อเรา

1. วัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

เมื่อท่านเข้าใช้งานเว็บไซต์ของ สไมล์ไอวีเอฟ เราอาจเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เพื่อวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

ข้อ วัตถุประสงค์ ฐานทางกฎหมาย
1.1 เพื่อการใช้งานเว็บไซต์ หรือเข้าใช้งานระบบต่าง ๆ ของ สไมล์ไอวีเอฟ หรือเชื่อมต่อไปยังเว็บไซต์อื่น ๆ ทั้งของสไมล์ไอวีเอฟ หรือหน่วยงานภายนอก ความจำเป็นเพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interests)
1.2 เพื่อวัดผลการปฏิบัติงาน และการวิเคราะห์การสำรวจตลาดและกลยุทธ์ทางการตลาด รวมทั้งเพื่อดำเนินการวางแผน การรายงาน และการคาดการณ์ทางธุรกิจ ความจำเป็นเพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interests)
1.3 เพื่อวิเคราะห์ วิจัย พัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ และกิจกรรมต่าง ๆ ของสไมล์ไอวีเอฟ ให้ดียิ่งขึ้นหรือเหมาะสมกับความต้องการของท่าน รวมถึงการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของ สไมล์ไอวีเอฟ เพื่อวิเคราะห์การใช้งานของผู้ใช้เว็บไซต์สำหรับการพัฒนาเว็บไซต์และกลยุทธ์การสื่อสารของ สไมล์ไอวีเอฟ ความจำเป็นเพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interests)
1.4 เพื่อการบริหารความเสี่ยง การกำกับการตรวจสอบ รวมถึงเพื่อการตรวจสอบภายในของสำนักตรวจสอบภายใน และการบริหารจัดการภายในองค์กร ความจำเป็นเพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interests)
1.5 ในกรณีที่ท่านประสงค์ขอเข้าเยี่ยมชมกิจการของ สไมล์ไอวีเอฟ เราอาจประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เพื่อการติดต่อประสานงานต่าง ๆ การพิจารณาคัดเลือกและยืนยันการเยี่ยมชม รวมทั้งเตรียมการอำนวยความสะดวกให้เหมาะสมกับกลุ่มบุคคลที่จะมาเข้ามาเยี่ยมชมกิจการของเรา ความจำเป็นเพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interests)
1.6 ในกรณีที่ท่านแจ้งข้อมูลผ่านช่องทางการติดต่อเรา หรือแจ้งคำขอต่าง ๆ เช่น ขอรับข้อมูลข่าวสารจากศูนย์ข้อมูลข่าวสาร เป็นต้น เราอาจประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เพื่อการติดต่อสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำขอ หรือข้อร้องเรียน หรือข้อมูลที่ท่านได้แจ้งไว้กับเรา รวมถึงการพิจารณาดำเนินการตามคำขอ การติดต่อส่งข้อมูล การออกใบเสร็จ (กรณีมีค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายในการสำเนาข้อมูลหรือส่งเอกสาร) การตรวจสอบข้อเท็จจริง การจัดเก็บเป็นบันทึกเพื่อติดตามผลการดำเนินการ และเป็นข้อมูลเพื่อการบริหารความเสี่ยง การกำกับการตรวจสอบ รวมถึงเพื่อการตรวจสอบภายในของสำนักตรวจสอบภายใน และการบริหารจัดการภายในองค์กร ความจำเป็นเพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interests)
1.7 เพื่อการติดต่อและส่งแบบสำรวจ เพื่อสอบถามความคิดเห็น และนำมาวิเคราะห์เพื่อการพัฒนาเว็บไซต์ ของ สไมล์ไอวีเอฟ ให้ตอบสนองความสนใจของกลุ่มผู้อ่าน ความจำเป็นเพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interests)
1.8 เมื่อท่านเข้าใช้งานเว็บไซต์ของเรา เราจำเป็นต้องเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลบางประการของผู้ใช้งานเว็บไซต์เพื่อการปฏิบัติตามกฎหมาย การสืบสวน สอบสวน ตามกระบวนการทางกฎหมายและกฎระเบียบอื่นใด และเพื่อการรายงานหรือเปิดเผยข้อมูลต่อหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ องค์กรอิสระ หรือหน่วยงานอื่นใดซึ่งอาศัยอำนาจตามกฎหมาย หรือคำสั่งศาล รวมทั้งเพื่อการก่อตั้งสิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย การปฏิบัติตามหรือการใช้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย หรือการยกขึ้นต่อสู้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย ความจำเป็นเพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interests)

การปฏิบัติตามสัญญา (Contractual Basis)

ข้อมูลส่วนบุคคลที่ สไมล์ไอวีเอฟ เก็บรวบรวมอันเนื่องมาจากความจำเป็นในการปฏิบัติสัญญา หรือการปฏิบัติตามกฎหมายต่าง ๆ นั้น หากท่านไม่ให้ข้อมูลส่วนบุคคลที่จำเป็นดังกล่าว สไมล์ไอวีเอฟ อาจไม่สามารถให้บริการหรืออำนวยความสะดวกให้กับท่านได้

2. การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลส่วนบุคคลที่อาจมีการเก็บรวบรวม

ในการเข้าใช้งานเว็บไซต์ของ สไมล์ไอวีเอฟ อาจมีการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล โดยบางส่วนอาจเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยอัตโนมัติจากการใช้งานเว็บไซต์ เช่น การจัดเก็บ IP Address ประเภทของเบราว์เซอร์ เป็นต้น และบางส่วนอาจเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่เราได้มาจากการขอให้ท่านกรอกข้อมูลตามแบบฟอร์มที่เรากำหนด หรือเป็นข้อมูลที่ท่านให้กับเราเพื่อประกอบการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องแต่ละประเภท เช่น การติดต่อสอบถาม การติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติม การติดต่อขอเข้าเยี่ยมชมกิจการ เป็นต้น นอกจากนี้ สไมล์ไอวีเอฟ อาจเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลจากท่านผ่านผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของเรา หรืออาจมีการเก็บรวบรวมข้อมูลของท่านจากแหล่งอื่น เช่น แหล่งข้อมูลส่วนบุคคลที่สามารถเข้าถึงได้โดยสาธารณะ ข้อมูลที่สามารถขอคัดถ่ายสำเนาได้จากหน่วยงานราชการ เป็นต้น

ทั้งนี้ สไมล์ไอวีเอฟ อาจมีการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ดังต่อไปนี้

2.1 ข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป

  1. ข้อมูลที่ใช้ระบุตัวตน (Identity Data) เช่น ชื่อ นามสกุล เลขประจำตัวบัตรประชาชน อายุ วันเดือนปีเกิด เป็นต้น
  2. ข้อมูลเกี่ยวกับการทำงาน เช่น อาชีพ ชื่อบริษัท/องค์กรที่ทำงาน ตำแหน่ง/หน่วยงาน เป็นต้น
  3. ข้อมูลติดต่อ (Contact Data) เช่น ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล เป็นต้น
  4. ข้อมูลบัญชีผู้ใช้งาน และรหัสผ่าน เฉพาะกรณีเข้าใช้งานระบบงานต่าง ๆ ของ สไมล์ไอวีเอฟ
  5. ข้อมูลที่เราได้รับผ่านการใช้บริการเว็บไซต์ เช่น ข้อมูลอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่อยู่ IP ข้อมูลบันทึก ประเภทของเบราว์เซอร์ และการตั้งค่า ข้อมูลสถานที่ ตัวบ่งชี้ข้อมูลในระบบออนไลน์เพื่อเปิดใช้ ‘คุกกี้’ และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกัน
  6. ข้อมูลอื่น ๆ ที่ท่านให้ไว้กับเรา เช่น ประเทศของผู้ใช้บริการ ข้อมูลตามใบสมัคร แบบฟอร์ม แบบสอบถามต่าง ๆ ข้อมูลความคิดเห็น ความพึงพอใจ หรือข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับการติดต่อสอบถามหรือคำขอต่าง ๆ ที่ท่านแจ้งไว้กับเรา เป็นต้น

2.2 ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน

ในการใช้งานเว็บไซต์ของสไมล์ไอวีเอฟ โดยทั่วไปนั้น สไมล์ไอวีเอฟ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวมหรือใช้ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน เช่น ศาสนา เชื้อชาติ เป็นต้น ของท่าน หรือบุคคลอื่น เพื่อวัตถุประสงค์ใดโดยเฉพาะ ท่านไม่จำเป็นต้องระบุ หรือกล่าวถึงข้อมูลดังกล่าว อย่างไรก็ตามหากมีกรณีที่ สไมล์ไอวีเอฟ จำเป็นจะต้องใช้ข้อมูลดังกล่าวเพื่อวัตถุประสงค์ใด สไมล์ไอวีเอฟ จะแจ้งให้ท่านทราบและขอความยินยอมจากท่านเป็นกรณีไป

กรณีที่ท่านได้ให้สำเนาบัตรประชาชนซึ่งมีข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน เช่น ศาสนา และหมู่โลหิต รวมอยู่ด้วยนั้น โดยทั่วไปแล้ว สไมล์ไอวีเอฟ ไม่มีความประสงค์จะเก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลศาสนาและหมู่โลหิตที่ปรากฏอยู่ในสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของท่านเพื่อวัตถุประสงค์ใดโดยเฉพาะ หากท่านได้มอบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่ สไมล์ไอวีเอฟ ขอให้ท่านปกปิดข้อมูลดังกล่าว หากท่านมิได้ปกปิดข้อมูลข้างต้น ถือว่าท่านอนุญาตให้ สไมล์ไอวีเอฟดำเนินการปกปิดข้อมูลเหล่านั้น และถือว่าเอกสารที่มีการปกปิดข้อมูลดังกล่าว มีผลสมบูรณ์และบังคับใช้ได้ตามกฎหมายทุกประการ ทั้งนี้ หาก สไมล์ไอวีเอฟ ไม่สามารถปกปิดข้อมูลได้เนื่องจากข้อจำกัดทางเทคนิคบางประการ สไมล์ไอวีเอฟ จะเก็บรวบรวม และใช้ข้อมูลดังกล่าว เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของเอกสารยืนยันตัวตนของท่านเท่านั้น

3. ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล

สไมล์ไอวีเอฟ จะเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเป็นระยะเวลาเท่าที่จำเป็นเพื่อวัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งได้ระบุไว้ในแบบแจ้งฉบับนี้ และอาจเก็บต่อไปตามระยะเวลาที่จำเป็นเพื่อการปฏิบัติตามกฎหมายหรือตามอายุความทางกฎหมาย เพื่อการก่อตั้งสิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย การปฏิบัติตามหรือการใช้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย หรือการยกขึ้นต่อสู้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย หรือเพื่อเหตุอื่นตามนโยบายและข้อกำหนดภายในองค์กรของสไมล์ไอวีเอฟ

4. การเปิดเผยข้อมูล

ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในแบบแจ้งฉบับนี้สไมล์ไอวีเอฟ อาจเปิดเผยข้อมูลของท่านให้แก่บุคคลภายนอกดังต่อไปนี้

  1. บริษัทในกลุ่ม สไมล์ไอวีเอฟ เพื่อวัตถุประสงค์ในการดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ระบุ
  2. หน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ องค์กรอิสระ หน่วยงานกำกับดูแล หรือหน่วยงานอื่นตามที่กฎหมายกำหนด รวมถึงเจ้าพนักงานซึ่งใช้อำนาจตามกฎหมาย เช่น ศาล อัยการ ตำรวจ เป็นต้น
  3. ตัวแทน ผู้รับจ้าง/ผู้รับจ้างช่วง และ/หรือผู้ให้บริการสำหรับการดำเนินงานใด ๆ ให้แก่ สไมล์ไอวีเอฟ เช่น ผู้ตรวจสอบบัญชี ทนายความ ที่ปรึกษากฎหมาย ผู้พัฒนาระบบเว็บไซต์ ผู้รับจ้างดูแลการประชาสัมพันธ์ในช่องทางต่าง ๆ เป็นต้น

5. การส่งหรือเปิดเผยข้อมูลไปต่างประเทศ

สไมล์ไอวีเอฟ อาจมีการเก็บข้อมูลบนคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์หรือคลาวด์ของผู้ให้บริการที่อยู่ต่างประเทศ และอาจมีการประมวลผลข้อมูลโดยใช้โปรแกรมหรือแอปพลิเคชันสำเร็จรูปของผู้ให้บริการในต่างประเทศ

อย่างไรก็ตาม ในการส่งหรือโอนข้อมูลดังกล่าวไม่ว่ากรณีใด ๆ สไมล์ไอวีเอฟจะปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

6. การเข้าใช้งานเว็บไซต์อื่นผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัท

เนื่องจากแบบแจ้งเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้ใช้สำหรับการให้บริการและการใช้งานเว็บไซต์ของสไมล์ไอวีเอฟ เท่านั้น หากท่านเข้าชมเว็บไซต์อื่นแม้จะผ่านช่องทางทางเว็บไซต์ของ สไมล์ไอวีเอฟ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลต่าง ๆ จะเป็นไปตามแบบแจ้งเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของเว็บไซต์นั้นซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ สไมล์ไอวีเอฟ

7. คุกกี้และเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกัน

สไมล์ไอวีเอฟ ใช้คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ของสไมล์ไอวีเอฟ เพื่อเก็บรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลเมื่อท่านเข้าชมเว็บไซต์ และสไมล์ไอวีเอฟ มีความประสงค์จะใช้คุกกี้ทางเลือกเพื่อช่วยให้เราสามารถปรับปรุงเว็บไซต์ของ สไมล์ไอวีเอฟ โดย สไมล์ไอวีเอฟ จะไม่ใช้คุกกี้ทางเลือกจนกว่าท่านจะอนุญาตให้เราเปิดใช้งานคุกกี้ดังกล่าว นอกจากนี้ เว็บไซต์ของเราอาจมีการใช้งาน Google Analytics เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์และนำข้อมูลมาพัฒนาปรับปรุงเว็บไซต์ของเรา ท่านสามารถศึกษารายละเอียดของการใช้คุกกี้ได้จากนโยบายการใช้คุกกี้ ของสไมล์ไอวีเอฟ

8. สิทธิของท่านในฐานะเจ้าของข้อมูล

ในฐานะที่ท่านเป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ท่านมีสิทธิตามที่กำหนดไว้โดยพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ทั้งนี้ ท่านสามารถขอใช้สิทธิต่าง ๆ ของท่านได้ตามช่องทางที่ สไมล์ไอวีเอฟ กำหนดในข้อ 10. หรือผ่านเว็บไซต์ของ สไมล์ไอวีเอฟ โดยจะสามารถเริ่มใช้สิทธิได้ เมื่อกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีผลใช้บังคับกับสไมล์ไอวีเอฟ ซึ่งสิทธิต่าง ๆ ของท่านมีรายละเอียด ดังนี้

8.1 สิทธิในการเพิกถอนความยินยอม (Right to Withdraw Consent)

ในกรณีที่สไมล์ไอวีเอฟ ขอความยินยอมจากท่าน ท่านมีสิทธิในการเพิกถอนความยินยอมในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ท่านได้ให้ความยินยอมกับสไมล์ไอวีเอฟ ได้ เว้นแต่การเพิกถอนความยินยอมจะมีข้อจำกัดโดยกฎหมายหรือสัญญาที่ให้ประโยชน์แก่ท่าน

ทั้งนี้ การเพิกถอนความยินยอมจะไม่ส่งผลกระทบต่อการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ท่านได้ให้ความยินยอมไปแล้วโดยชอบด้วยกฎหมาย

8.2 สิทธิในการขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล (Right to Access)

ท่านมีสิทธิขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลของท่านซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของสไมล์ไอวีเอฟ รวมถึงขอให้สไมล์ไอวีเอฟ เปิดเผยการได้มาซึ่งข้อมูลดังกล่าวที่ท่านไม่ได้ให้ความยินยอมต่อสไมล์ไอวีเอฟ ได้

8.3 สิทธิในการขอให้ส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคล (Data Portability Right)

ท่านมีสิทธิขอให้สไมล์ไอวีเอฟ โอนข้อมูลส่วนบุคคลของท่านที่ท่านให้ไว้กับสไมล์ไอวีเอฟ ได้ตามที่กฎหมายกำหนด

8.4 สิทธิในการคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล (Right to Object)

ท่านมีสิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลที่เกี่ยวกับท่านสำหรับกรณีการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตนได้ตามที่กฎหมายกำหนด

8.5 สิทธิในการขอลบข้อมูลส่วนบุคคล (Erasure Right)

ท่านมีสิทธิขอให้ สไมล์ไอวีเอฟ ลบข้อมูลส่วนบุคคลของท่านตามที่กฎหมายกำหนด อย่างไรก็ตาม สไมล์ไอวีเอฟ อาจเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่านด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งอาจมีบางระบบที่ไม่สามารถลบข้อมูลได้ ในกรณีเช่นนั้นสไมล์ไอวีเอฟ จะจัดให้มีการทำลายหรือทำให้ข้อมูลดังกล่าวกลายเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนของท่านได้

8.6 สิทธิในการขอให้ระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล (Right to Restrict Processing)

ท่านมีสิทธิขอให้ สไมล์ไอวีเอฟ ระงับการใช้ข้อมูลของท่านได้ตามที่กฎหมายกำหนด

8.7 สิทธิในการขอแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง (Rectification Right)

กรณีที่ท่านเห็นว่าข้อมูลที่ สไมล์ไอวีเอฟ มีอยู่นั้นไม่ถูกต้องหรือท่านมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเอง ท่านมีสิทธิขอให้ สไมล์ไอวีเอฟ แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเพื่อให้ข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวถูกต้อง เป็นปัจจุบัน สมบูรณ์ และไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด

8.8 สิทธิในการร้องเรียน (Right to Lodge a Complaint)

ท่านมีสิทธิในการร้องเรียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หาก สไมล์ไอวีเอฟฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้

9. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงแบบแจ้งฉบับนี้

เราอาจแก้ไขปรับปรุงแบบแจ้งเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้เป็นครั้งคราว และเมื่อมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเช่นว่านั้น เราจะประกาศให้ท่านทราบในเว็บไซต์ของ สไมล์ไอวีเอฟ ทั้งนี้ หากมีกรณีที่จำเป็นต้องขอความยินยอมจากท่านเราจะดำเนินการขอความยินยอมจากท่านเพิ่มเติมด้วย

10. วิธีการติดต่อ

ในกรณีที่มีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลของท่าน การใช้สิทธิของท่าน หรือมีข้อร้องเรียนใด ๆ ท่านสามารถติดต่อสไมล์ไอวีเอฟได้ตามช่องทางดังต่อไปนี้

บริษัท ไอสยาม โฮลดิ้ง จำกัด

สถานที่ติดต่อ: 428 อาคารอารีย์ ฮิลล์ ชั้น 21 ซอยพหลโยธิน 10 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
เบอร์โทรศัพท์: 02-097-1977

เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สถานที่ติดต่อ: 428 อาคารอารีย์ ฮิลล์ ชั้น 21 ซอยพหลโยธิน 10 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
เบอร์โทรศัพท์: 02-097-1977
อีเมล์: info@smileivf.com

ประกาศ ณ วันที่ 31 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2567

Embryo Glue

กาวติดตัวอ่อน (Embryo Glue)คืออะไร จำเป็นไหม ช่วยเพิ่มโอกาสติดได้สูงขึ้น จริงหรือเปล่า -Smile IVF

กาวติดตัวอ่อน มันคืออะไร จะเหนียวติดเหมือนกาวตราช้างไหม มันช่วยให้ท้องได้เลยรึเปล่า มาไขข้อสงสัยกันค่ะ

มาทำความรู้จักตัวช่วยดีดีชื่อว่า “Embryo Glue ในการช่วยการฝังตัวอ่อน และเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ได้มากขึ้นอีกด้วย

Embryo glue คือ น้ำยาชนิดหนึ่งที่มีส่วนผสมของ โปรตีนที่ชื่อว่า Hyaluronan ซึ่งเป็นสารที่มีอยู่ตามธรรมชาติในร่างกาย และจะพบเป็นจำนวนมากในเยื่อบุโพรงมดลูกในช่วงเวลาที่มีการฝังตัวของตัวอ่อน โดยสารชนิดนี้จะทำหน้าที่จับกับตัวรับ (Receptor) ที่ชื่อ CD44 ที่อยู่ที่ผิวของเยื่อบุโพรงมดลูก ในช่วงเวลาที่จะมีการฝังตัวของตัวอ่อนตามธรรมชาติ เมื่อเรานำ Hyaluronan มาผสมกับตัวอ่อน Hyaluronan จะซึมเข้าไปในเปลือกของตัวอ่อนและยึดติดกับเซลล์ของตัวอ่อนไว้ มันก็เลยเกิดแรงยึดเหนี่ยวขึ้นระหว่างตัวอ่อนกับเยื่อบุโพรงมดลูก ทำให้ตัวอ่อนวางอยู่บนเยื่อบุโพรงมดลูกไม่เคลื่อนที่ไหลไปไหน อีกทั้ง Hyaluronan นั้นเป็นอาหารสำหรับตัวอ่อนด้วย ตัวอ่อนจึงสามารถเจริญเติบโตได้ดีและฝังตัวลงไปบนเยื่อบุโพรงมดลูก เกิดเป็นการตั้งครรภ์ได้

โดยการทำงานของน้ำยา Embryo glue คือจะทำการเคลือบตัวอ่อนเพื่อง่ายต่อการผ่านชั้นสารน้ำที่อยู่บริเวรพื้นผิวเยื่อบุผิว และเมื่อตัวอ่อนเข้าใกล้เยื่อบุผิวโพรงมดลูกสาร Hyaluronan จะทำการยึดติดกับตัวรับระหว่างเซลล์ตัวอ่อนและเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูก           ( Receptor CD44 ) หลังจากนั้นตัวอ่อนจะทำการยึดเกาะเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกนั้นเอง

เมื่อใช้กาวติดตัวอ่อนร่วมกับการย้ายตัวอ่อน

ในผู้หญิงที่ทำเด็กหลอดแก้ว ที่อายุ 30 ปีหรือน้อยกว่า อัตราการตั้งครรภ์อยู่ที่ 70-85%

ถ้าอายุ 31-34 ปี ก็ประมาณ 50%

แต่ถ้าอายุ 35 ปีหรือมากกว่า ก็เหลือแค่ประมาณ 30% เท่านั้น

จะเห็นได้ว่าอายุฝ่ายหญิงเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดว่าจะท้องหรือไม่ ปัจจุบันมีรายงานการศึกษาหลายๆฉบับที่แสดงให้เห็นผลในทางบวกของ Embryo Glue ที่ช่วยให้อัตราการตั้งครรภ์สูงขึ้นได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ก็ต้องอาศัยองค์ประกอบหลายๆอย่างช่วยด้วยนะคะ

Smile IVF Clinic เราพร้อมให้คำปรึกษาเรื่อง “การมีบุตรยาก” โดยทีมแพทย์ ทีมพยาบาล ทีมนักวิทย์ฯ และผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์โดยตรง รวมไปถึงเครื่องมือและห้องปฏิบัติการทางแล็บที่ทันสมัยใหม่ เพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ที่ผลสำเร็จสูงสุด

era-test-embryo-transfer/

ERA® การวิเคราะห์ความไวของเยื่อบุโพรงมดลูก 

ERA test (Endometrial Receptivity Analysis Test) ตัวช่วยเพิ่มโอกาสฝังตัวให้สูงขึ้นจากการย้ายตัวอ่อนวิธีปกติทั่วไป เพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์โดยไม่สูญเสียตัวอ่อนที่ดี แม้แต่ตัวอ่อนที่ดีที่สุดก็ยังไม่สามารถปลูกถ่ายได้หากสภาวะผนังมดลูกไม่เหมาะสมต่อการฝังตัว โดยรายงานผลจะเป็นการให้คำแนะนำช่วงเวลาการย้ายตัวอ่อนเฉพาะบุคคล และแพทย์จะใช้ผลการวิเคราะห์เพื่อคำนวณเวลาการย้ายตัวอ่อน (โดยปรับตามการเริ่มใช้กลุ่มยา Progesterone ) ในรอบจริง.

  • ผู้หญิงจำนวนมากที่ทำเด็กหลอดแก้วไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ แม้ว่าจะย้ายตัวอ่อนคุณภาพดีไปแล้วก็ตาม แม้ว่าตัวอ่อนคุณภาพดีจะเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ แต่การย้ายตัวอ่อนเข้าสู่มดลูกที่พร้อมรับตัวอ่อน ก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน
  • ระยะเวลาในการย้ายตัวอ่อนต้องสอดคล้องกับรอบประจำเดือนของร่างกาย ไม่เร็วเกินไปหรือช้าเกินไป แต่เป็นเวลาที่เหมาะสม สำหรับผู้หญิงส่วนใหญ่ เวลาที่ดีที่สุดในการย้ายตัวอ่อนจะเหมือนกัน แต่สำหรับผู้หญิงบางคน อาจแตกต่างออกไป

เยื่อบุโพรงมดลูกคืออะไร?

    • ภายในมดลูกเรียงรายไปด้วยเนื้อเยื่อที่เรียกว่าเยื่อบุโพรงมดลูก ซึ่งจะถูกเตรียมไว้ในแต่ละเดือนสำหรับการมาถึงของตัวอ่อนและเป็นรังที่ตัวอ่อนจะฝังตัวและอาศัยอยู่ระหว่างตั้งครรภ์ แม้แต่ตัวอ่อนที่ดีที่สุดก็ยังไม่สามารถปลูกถ่ายได้หากสภาวะไม่เหมาะสม

 การเปิดกว้างของเยื่อบุโพรงมดลูกคืออะไร?

      • เยื่อบุโพรงมดลูกจะเปิดกว้างเมื่อพร้อมสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อน ช่วงเวลาแห่งการเปิดกว้างนี้เรียกว่า หน้าต่างแห่งการฝังตัว
      • ผู้หญิงแต่ละคนมีหน้าต่างที่เป็นเอกลักษณ์ เมื่อทราบช่วงเวลาของการฝังตัวส่วนบุคคลคุณจะสามารถเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์โดยการย้ายตัวอ่อนแบบเฉพาะบุคคลได้

ทำไมต้องทำ ERA?

  • เมื่อทำการย้ายตัวอ่อนด้วยวิธีเฉพาะบุคคลโอกาสที่จะตั้งครรภ์จะเพิ่มขึ้นหลังการรักษา
  • 72.5%* อัตราการตั้งครรภ์โดยใช้ ERAใน ครั้งแรกในผู้ป่วยทุกราย
  • เพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ให้สูงสุดและไม่สูญเสียตัวอ่อนที่ดี
  • ผู้หญิง7 ใน 10 ราย ตั้งครรภ์ได้ หลังผ่านไป 1 ปี*
  • การศึกษาแบบสุ่มล่าสุด* ของเราพิสูจน์ให้เห็นว่า การย้ายตัวอ่อนร่วมกับ ERAให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า
  • การตรวจ ERA นั้นจะต้องใช้เวลาในการตรวจประมาณ 1 รอบเดือน โดยจะเริ่มด้วยการกินยาเพื่อเตรียมเยื่อบุโพรงมดลูกเมื่อประจำเดือนมาเหมือนในขั้นตอนการย้ายตัวอ่อนปกติ และเมื่อเยื่อบุโพรงมดลูกหนาได้ที่ก็จะทำการเริ่มยาโปรเจสเตอโรนเป็นเวลา 5 วัน ก่อนที่จะทำการดูดเก็บเยื่อบุโพรงมดลูกเพื่อส่งตรวจหาการแสดงออกของยีน (gene expression) มากกว่า 200 ยีน ซึ่งเป็นยีนที่แสดงถึงช่วงเวลาที่เหมาะสมในการย้ายตัวอ่อน

การทดสอบ ERA คืออะไร?
  • ERA® คือการทดสอบวินิจฉัยครั้งแรก ที่กำหนดเวลาการย้ายตัวอ่อนเฉพาะบุคคลของผู้หญิงแต่ละคน ดังนั้นจึงเป็นการประสานการย้ายตัวอ่อน กับผลการทดสอบหน้าต่างการฝังตัวที่เป็นรายบุคคล
ERA เหมาะกับคุณหรือเปล่า?
  • การตรวจ ERA นั้นไม่จำเป็นต้องตรวจในผู้ที่จะทำการย้ายตัวอ่อนทุกคน แต่ผู้ที่เหมาะสมที่จะตรวจ ERA ก็คือ คนที่เคยย้ายตัวอ่อนที่มีคุณภาพดีแล้วไม่ตั้งครรภ์ ผู้ที่มีตัวอ่อนน้อยและต้องการความมั่นใจในช่วงเวลาย้ายตัวอ่อน

ค่าใช้จ่าย

  • ERA® Test ค่าใช้จ่ายรวมเบ็ดเสร็จประมาณ 50,000บาทค่ะ รวมยาเตรียมผนังมดลูก ค่าธรรมเนียมแพทย์ ค่าอัลตราซาวด์ และ ค่าส่งชิ้นเนื้อไปตรวจค่ะ รายงานผล ERA TEST จะออกหลังจากทำ ERA TEST 20 วันค่ะ
Apply for a Marriage Certificate -

คำถามเกี่ยวกับกฎหมาย รักษาภาวะมีบุตรยากใน ประเทศไทย

คำถามที่พบบ่อย ไม่จดทะเบียนสมรส ทำเด็กหลอดแก้วได้หรือเปล่าคะ

  • เพื่อเข้ารับการรักษาภาวะมีบุตรยาก จำเป็นต้องมีทะเบียนสมรส เพราะประเทศไทยมีกฎหมายว่าคู่สมรสต้องจดทะเบียนสมรสจึงจะทำ IUI และ IVF ICSI ในประเทศไทยได้ คุณจำเป็นต้องนำทะเบียนสมรสติดตัวมาที่โรงพยาบาลด้วยทุกครั้งที่เริ่มทำการรักษาภาวะมีบุตรยาก มิฉะนั้นแพทย์จะมีความผิดทางกฏหมายแพทย์สภา

คู่รักเพศเดียวกันแต่งงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายในต่างประเทศ ฉันสามารถใช้วิธีการ IUI และ IVF ในประเทศไทยได้หรือไม่

  • ประเทศไทยไม่อนุญาตให้มีการรักษาเด็กหลอดแก้วกับคู่สมรสเพศเดียวกันที่ต้องการทำ IVF ICSI หรือ IUI ไม่สามารถทำในประเทศไทยได้ โดยกฎหมายบังคับใช้กับพลเมืองสัญชาติไทยและคู่สมรสต่างชาติ ถึงแม้จะแต่งงานอย่างถูกกฎหมายในต่างประเทศก็ตาม

 

ข้อบังคับทางกฎหมายเกี่ยวกับการแช่แข็งตัวอ่อนมีอย่างไรบ้าง

  • ข้อบังคับทางกฎหมายเกี่ยวกับการแช่แข็งตัวอ่อนมีดังต่อไปนี้
  • คู่สมรสที่ต้องการแช่แข็งตัวอ่อนต้องสมรสกันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
  • ก่อนการแช่แข็งตัวอ่อน ทั้งสามีและภรรยาต้องลงนามใน “หนังสือแสดงความยินยอม”
  • คู่สมรสต้องตรวจร่างกายเพื่อดูว่าเป็นโรคติดต่อหรือไม่
  • ตรวจคัดกรองเพื่อแยกตัวอ่อนที่ “ติดเชื้อ” ออกจากตัวอ่อนที่ “ไม่ติดเชื้อ” (เช่น มีเชื้อ HIV/ไม่มีเชื้อ HIV)
  • สามีหรือภรรยาที่ต้องการใช้ตัวอ่อนของคู่สมรสที่เสียชีวิตไปแล้วต้องมีเอกสารยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากคู่สมรสก่อนเสียชีวิต
    ต้องรายงานต่อกระทรวงสาธารณสุข (ประเทศไทย) หากต้องการใช้ตัวอ่อนแช่แข็งหลังการเสียชีวิตของคู่สมรส
  • อาจไม่สามารถใช้ตัวอ่อนแช่แข็งของคู่สมรสที่เสียชีวิตมานานกว่า 5 ปีได้

 

ในประเทศไทย สามารถตรวจคัดกรองความผิดปกติทางกันธุกรรมของตัวอ่อนก่อนการฝังตัวได้หรือไม่

  • ประเทศไทยอนุญาตให้มีการตรวจคัดกรองความผิดปกติทางพันธุกรรมของตัวอ่อนก่อนการฝังตัวและสามารถทำในกรณีดังต่อไปนี้
  • ฝ่ายหญิงมีอายุเกิน 35 ปี
  • ฝ่ายหญิงมีประวัติการแท้งมากกว่า 2 ครั้งในขณะอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ หรือผลการตรวจยืนยันว่า การแท้งครั้งก่อนเกิดจากทารกมีพันธุกรรมผิดปกติ
  • มีประวัติตั้งครรภ์ที่ทารกมีความผิดปกติอันเนื่องจากความผิดปกติของโครโมโซม
  • ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้หลังจากทำ IVF มาแล้ว 2 ครั้งติดต่อกัน
  • เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคทางพันธุกรรมที่อาจถ่ายทอดสู่ตัวอ่อน
  • เพื่อตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมในตัวอ่อน
  • เพื่อรักษาบุตรที่ป่วยเป็นโรคด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดจากเลือดในสายสะดือของทารกแรกคลอดที่มีเนื้อเยื่อเข้ากันได้
amh ต่ำ รังไข่เสื่อม

ภาวะรังไข่หยุดทำงานก่อนวัย

ภาวะรังไข่หยุดทำงานก่อนวัย (วัยทองก่อนวัยอันควร) คือภาวะที่รังไข่ทำงานผิดปกติไป ในขณะที่อายุยังน้อย (น้อยกว่า 40ปี)

โดยธรรมชาติแล้ว รังไข่จะค่อยๆ ทำงานด้อยประสิทธิภาพลงตามอายุเพิ่มขึ้น และหยุดทำงานเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน เมื่อรังไข่หยุดทำงาน ก็คือไม่มีการตกไข่ด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีอาการภาวะรังไข่หยุดทำงานก่อนวัย ไม่ได้ไม่มีการตกไข่เลย เพียงแต่ว่ารังไข่มีการทำงานผิดปกติไปจากเดิม โดยอาจจะการตกไข่เกิดขึ้นเพียงครั้งคราวเท่านั้น

โดยภาวะนี้มีสาเหตุมาจาก

1.ประจำเดือนขาด พบได้ประมาณร้อยละ 2-10

2.เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ก่อนประจำเดือนจะขาด เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด โดยมักจะขาดไปหลังการ

3.ตั้งครรภ์ หรือหลังจากหยุดยาคุมกำเนิด

4.โครโมโซมผิดปกติ พบได้ประมาณร้อยละ 10

5.ภาวะมีบุตรยาก พบน้อย

6.อื่นๆ เช่น โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง การทำเคมีบำบัด

Platelet-Rich Plasma (PRP) คืออะไร ?
PRP คือ พลาสมาที่อุดมไปด้วยเกล็ดเลือด ซึ่งได้จากการสกัดเลือดจากคนไข้เอง แล้วนำมาปั่นผ่านกระบวนการคัดแยกให้ได้เกล็ดเลือดเข้มข้นกว่าปกติ 4-5 เท่า ทั้งนี้แพทย์จะสามารถควบคุมอุณหภูมิระหว่างปั่นไม่ให้กระทบต่อสารชีวภาพในเกล็ดเลือดได้ ทำให้รักษาสารสำคัญต่างๆ ไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การฉีด PRP จะช่วยรักษาอาการ และฟื้นฟูเนื้อเยื่อได้หลายชนิด เพราะในเกล็ดเลือดมี Growth Factor และ Cytokines อันเป็นสารประกอบที่ช่วยกระตุ้นเซลล์รอบๆ เนื้อเยื่อให้เกิดกระบวนการฟื้นฟูและแบ่งตัวตามกลไกธรรมชาติได้เร็วขึ้น มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

การฉีด PRP เหมาะสำหรับใครบ้าง ?

1.ผู้ที่มีปัญหารังไข่เสื่อมก่อนวัย การทำ PRP จะช่วยกระตุ้นระดับฮอร์โมนให้การทำงานของรังไข่ให้ดีขึ้น หลังฉีดแล้วพบว่า คนไข้ส่วนใหญ่มีระดับ AMH (ฮอร์โมนที่บอกถึงจำนวนไข่) เพิ่มขึ้น

2.ผู้ที่มีภาวะรังไข่ตอบสนองต่อการกระตุ้นต่ำ
ผู้ที่มีปัญหาเยื่อบุโพรงมดลูกบางจนไม่สามารถย้ายตัวอ่อนได้ เมื่อได้รับการฉีด PRP ก่อนการสอดยาโปรเจสเตอโรน พบว่าช่วยให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาขึ้น และมีเลือดมาหล่อเลี้ยงเยื่อบุโพรงมดลูกเพิ่มขึ้น

3.ผู้ที่ทำการกระตุ้นไข่ แต่ได้ตัวอ่อนไม่แข็งแรง ไม่ถึงระยะ blastocyst หรือตรวจโครโมโซมไม่ผ่าน

กระบวนการในการฉีด PRP

ใช้ระยะเวลาประมาณ 20 นาที เมื่อนำเลือดไปปั่นแยกแล้ว สามารถนำฉีดเข้าโพรงมดลูกหรือฉีดบริเวณเนื้อรังไข่ได้โดยไม่ต้องผ่าตัด และไม่ต้องพักฟื้น มีการวางยาสลบโดยวิสัญญีแพทย์ จึงไม่ควรขับรถกลับบ้านเองตามลำพัง เพื่อความปลอดภัย

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีผลการวิจัยรองรับในเรื่องการเพิ่มจำนวนไข่ รวมถึงอัตราความสำเร็จในการตั้งครรภ์ หรือโอกาสในการเกิดมะเร็งที่รังไข่จากการฉีด PRP ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง